มีนาคม 21, 2008

ไร้รส นิยม-tasteless

Posted in ถาม & ตอบ, สังคม tagged , , , ที่ 3:33 pm โดย abdunng

อะไรคือความไร้รสนิยม ใครคือผู้ที่สามารถที่จะตัดสินผู้อื่นได้ว่าคนๆนั้นไร้รสนิยม

ผมไม่รู้หลอกว่าคำว่า”ไร้รสนิยม”จริงๆแล้วนะมันมีบรรทัดฐานในการนำไปใช้กับใคร โอกาศใด และใช้อะไรในการตัดสินบุคคลนั้นๆว่าบุคคลนั้นๆเป็นผู้ไร้รสนิยม

ผมก็เคยใช้ หลายๆครั้งยังเผลอหลุดไปเลย 

จากการที่ผมได้มีโอกาศในการได้คลุกคลีกับบุคคลหลายคนที่ใช้คำนี้ และใช้เองแล้ว ผมจึงบอกได้ว่ากลุ่มคำกลุ่มนี้จะมีคำที่ตามมาด้วยซึ่งก็คือ”เสี่ยว” และ”ลาว” “เสี่ยว”นะผมคิดว่าน่าจะมีความหมายคล้ายๆกับ”ไร้รสนิยม”ซึ่งทั้งสองคำนี้ก็น่าจะมีเป้าหมายในการใช้ตรงกันซึ่งก็คือการดูถูก ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามบุคคลที่โดนด่า แล้วคำว่า”ลาว”ละมันมาได้ไงกัน อาจจะเป็นการใช้คำที่มีผลพลอยได้มาจากการเหยียดหยามชาติเพื่อนบ้านเราที่เค้าอาจจะไม่เจริญทางด้านวัตถุเท่าบ้านเรา จึงนำเอาชื่อประเทศเค้ามาใช้เป็นคำปรามาถบุคคลอื่นๆที่ไม่ทำตัวหรือปฎิบัติตนตาม ความคิดของคนที่ใช้คำนี้

ผมก็เคยโดน

แต่คุณคิดว่าเป็นสิ่งที่ฉลาดแล้วเหรอที่จะนำคำเหล่านี้มาว่าคนอื่นที่เค้าแปลก แตกต่าง มันไม่ได้ช่วยให้คุณ หรือผมสูงขึ้นเลยมีแต่ต่ำลง กลายเป็นคนที่มองอะไรแค่เปลือกนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่งโง่มากอะ การดูถูกคนอื่นมันมีแต่จะแสดงให้เห็นว่าสภาพจิตของคุณหรือผมตกต่ำลง

ไอ้คำนี้นะมันก็แค่ใช้ตัวเองเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางไม่ใช่เรอะเหมือนตัวเองแม่งสุดยอดสุดแล้ว ถึงไปด่าคนๆนั้นได้ แต่ผมว่านะถ้าเวลา และสถานที่เปลี่ยนไป คุณนั่นแหละที่เป็นคนที่ “ไร่รสนิยม”…

นี่เป็นความเห็นของกระผมนะพี่น้อง แล้วคุณคิดว่าไอ้คำนี้นะมันคืออะไร มันหมายความยังไง

9 ความเห็น »

  1. SSM said,

    มนุษย์เราชอบให้ตัวเองรู้สึกแตกต่างจากคนอื่น แต่ขณะเดียวกัน ก็รู้สึกรังเกียจเมื่อคนอื่นแตกต่างจากตัวเอง
    อาจฟังดูแปลกๆ แต่มันก็เป็นความจริงพอดูเลย พิสูจน์ได้จากสงครามต่างๆนาๆตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน หรือมองดูจากตัวเองก็ได้ คำว่าแตกต่างนั้น อาจมองอีกแง่ได้ก็คือ “เหนือกว่า” ก็ได้ และเมื่อเราเจอคนที่แตกต่างจากตัวเอง เราจึงมักจะ(พยายาม)จัดกลุ่มคนเหล่านั้นไปโดยอัตโนมัติ และเมื่อเค้าไม่เหมือนเรานั้น ก็ไม่มีทางอยู่ในระดับเดียวกับเราได้ ส่วนจะจัดอยู่ในระดับ เหนือกว่า หรือ ต่ำกว่านั้น คำตอบคงรู้ๆกันอยู่
    โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า มันก็ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงอะไร ถ้าคุณเห็นคนที่แตกต่างจากตัวเองแล้ว หยุดอยู่แค่ความคิด แต่ปัญหาที่เกิดขึ่นส่วนใหญ่แล้วมันเกิดขึ่นเพราะมันไม่หยุดที่ความคิดนี่แหละ

    *อย่าว่าแต่ลาวเลย ขนาดเพลงลูกทุ่ง ดนตรีไทยของเราเองแท้ๆ เรายังรังเกียจเลย ที่พูดนี่ไม่ได้หมายความว่าผมชอบฟังอะไร ผมก็ไม่ฟังเหมือนกัน แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่ว่า รังเกียจ ต้องไปด่าเสียๆหายๆ เพราะด่าไปมันจะเข้าตัวเองเอา
    ปล. ไม่แน่ ถ้าเราไปเดินแถวประเทศเพื่อนบ้าน เราอาจจะได้ยินชาวบ้านด่ากันว่า ไอ้ไทยเอ้ย ก็ได้

  2. siripat said,

    มันเป็นเรื่องธรรมดานะผมว่า คนเราชอบทำให้ตัวเองดูเหนือกว่าผู้อื่นอยู่แล้ว

    เรื่องรสนิยมนี่จะเห็นชัดเลยว่าเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องการแบ่งชนชั้น อันนี้จะเห็นชัดมาก การดูถูกผู้ที่มีฐานะต่ำกว่ามักเป็นเรื่องที่เห็นได้ทั่วไป

    การดูถูก การเหยียดหยาม ผมว่าคนเรามีกันอยู่ทุกคน ขึ้นอยู่ว่าจะคนๆนั้นจะใช้มันรึเปล่า

    เรื่องการหาข้ออ้างในการด่าก็เหมือนกัน คนเราจะด่าอะไรบางทีมันไม่ต้องมีเหตุผล มันมาจากอารมณ์ล้วนๆเลย ว่ามั้ย คนที่มีรสนิยมอีกอย่าง ก็ด่าคนที่มีรสนิยมอีกอย่าง
    เช่นคนชอบเพลงร๊อค อีโม เพลงตลาด หรือพวกฟังเพลงดีแค่ไหน เห็นใครฟัง เพลงลูกทุ่ง ก็จะหาว่ามีรสนิยมต่ำ

    แต่มันก็ไม่จำเป็นว่ามีฐานะสูงกว่า จะมีรสนิยมดีกว่าคนที่มีฐานะต่ำกว่า เลย

    ผมเห็นมาเยอะแยะ คนที่มีเงินทองมหาศาล รสนิยมก็ไม่ได้ดีอะไรมาก สักแต่ว่าตัวเองใช้ของแพง เลยถือว่ารสนิยมดี

    เรื่องแบบนี้บางทีอาจจะต้องปล่อยวาง ตัวผมตัวคุณหรือใครๆก็ต้องเคยด่าคนเรื่องรสนิยมมาเหมือนกัน คนอื่นเค้าจะว่าอะไรจะไปสนใจทำไม
    อย่าไปคิดมากให้ปวดสมองเลยดีกว่า

    ในความคิดของผม ไม่คิดว่า รสนิยม จะเป็นตัวแบ่งแยกความเป็นคน

  3. เราเองก็เคยโดนนะ ประโยคจำพวกนี้ แต่ก็ฟังผ่านๆ นะ…
    เพราะบางครั้งเราจำเป็นต้องรับกับความเห็นคนอื่นหากต้องทำงานส่วนรวมนั้นร่วมกัน
    แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ข้องแวะกับหัวใคร
    ก็อย่ามาว่าฉันละกัน…
    คิดว่ารสนิยม เป็นความชอบส่วนตัวนะ…

  4. siriluck said,

    ส่วนตัวแล้วไม่ค่อยชอบคนที่ใช้คำพูดคำว่า “ลาว” แทนการแสดงออกถึงความไม่เข้าท่า ด้อยพัฒนา หรืออะไรก็ตามแต่
    สงสารคนลาวเขาน่ะค่ะ ที่พูดแบบนี้ก็เพราะเคยลองนึกดูว่า
    ถ้าสมมุติมีประเทศที่พัฒนากว่าเรา ใช้คำพูดที่แสดงความเห่ย แย่ หรือล้าหลังอะไรทำนองเนี๊ย
    โดยใช้คำว่า”ไทย”แทน แค่คิดก็รู้สึกแย่แล้วอ่ะค่ะ

  5. yawaiam said,

    ถ้าใครว่าเรา “ไร้รสนิยม”
    ก็ลองถามเขากลับไปว่า
    “มีรสนิยม” ของคุณคืออย่างไร
    เผื่อจะได้รู้เขารู้เราบ้าง
    ถ้าบรรยากาศดี ๆ ก็ลองถามไปใหม่ว่า
    การที่เราไร้รสนิยมทำให้คุณเดือดร้อนหรือเปล่า

  6. khun_aut said,

    ธนบัตร ราคา ๑ พัน … หรือ เศษกระดาษหนึ่งแผ่น ใครหนอให้คุณค่ามัน
    หอเอนๆ นามว่า ปิซา … หรือ ซากอาคาร โชว์ความล้มเหลวทางวิศวกรรม

    … ใครเล่าให้คุณค่ามัน

    รสนิยม ค่านิยม ก็ไม่ต่างกัน ถ้าเรายังแยกไม่ได้เสียทีว่า … อะไรเพื่อใช้ อะไรเพื่อโชว์

    ชีวิตคนเรา ก็จะไม่มีค่าใดๆ ถ้าไม่มีใคร … ให้คุณค่ามัน

    : )

  7. siriluck said,

    คุณ khun_aut เขียนดีนะคะ ชอบๆๆๆๆๆ 😀
    สวัสดีเจ้าของบ้านด้วยนะคะ 😀

  8. น่าคิดนะครับ..

  9. ซาอิ said,

    คำว่ารสนิยม(taste) นั้น เป็นแนวคิดหนึ่งในทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยปรัชญา

    ซึ่งหลักของสุนทรียศาสตร์นั้น ในแต่ละยุคสมัยก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น ในสุนทรียศาสตร์โบราณ ประมาณยุคกรีก โรมันอะไรพวกนั้น ก็จะมีแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะที่ว่าด้วยความงาม ทั้งงานสถาปัตยกรรม ศิลปะ จิตกรรม ต่างๆลว้นเน้นสัดส่วน โครงสร้างที่สวยงาม สมบูรณ์ตามหลักของกรีก โรมัน ซึ่งหลักังกล่าวนี้ก็เป็นพื้นฐานสำหรับสุนทรียะในยุคต่อๆมา

    ในยุคกลาง ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา หรือเรอนัวร์ซอง เป็นต้นมาจนถึงประมาณ ยุคบารอค รอคโกโก ก็เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ที่เน้นไปที่ รสนิยม แล้วคำว่ารสนิยมนี้แหละที่น่าสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่
    แนวคิดเกี่ยวกับรสนิยมนี้มีนักปรัชญาได้ให้ความหมายไว้มากพอสมควร
    บ้างก็ว่า เป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ เป็นความสามารถรับรู้ได้เฉพาะบุคคล
    บ้างก็ว่าการตัดสินรสนิยมสามารถเกิดจากการศึกษา อบรม บวกกับเหตุผลและประสบการณ์ และความพึงพอใจส่วนตัว(อันนี้น่าจะมาเป็นอันดับสุดท้าย)
    และในยุคที่สุนทรียศาสตร์เน้นไปในเรื่องของรสนิยมนั้น รสนิยมในแต่ละยุคจะถูกกำหนดด้วยคนชั้นสูง และศิลปิน นักปรัชญา เพราะยุคพวกนี้ ระบบกษัตริย์และศิลปวิทยาการยังคงอยู่ในสมัยที่เฟื่องฟู
    เช่นรสนิยม ในยุคเรอนัวร์ซอง ก็จะเน้นไปที่โครงสร้าง และความเสมือนจริงในทางศิลปะ
    ในยุคบารอค รอคโคโค ก็จะเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อย อลังการ ทั้งงานสถาปัตยกรรม จิตกรรม งานศิลปะ แม้กระทั่งงานเขียนหรือดนตรี

    แต่ว่าพอหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น หลักสุนทรีญศาสตร์ได้เน้นไปที่ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลมากขึ้น
    ไม่ได้มีหลักสากล แบบกว้างๆที่จะมากำหนดอีกต่อไป

    รสนิยม นั้นถูกเปรียบกับ รสชาด ที่จะมีความเค็ม เผ็ด เปรี้ยว ต่างๆนาๆ
    และจะขึ้นอยู่กับความนิยมของบุคคล
    แม้ว่ารสนิยมจะเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม และเป็นการตัดสินเชิงคุณค่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นสิ่งที่ตัดสินไม่ได้ และขึ้นอยู่กับตัวบุคคลโดยสิ้นเชิง แต่สามารถตัดสินได้จากเหตุผล และประสบการณ์

    และในยุคปัจจุบันที่เริ่มมีแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ ขึ้นมาโดยที่หลักทฤษฏีต่างๆนั้น ได้ถือว่าไม่มีทฤษฏีหรือหลักตายตัวที่เป็นสากลอันแสดงถึงการกดขี่ทางอำนาจเช่นในยุคล่าอณานิคมที่ชาวตะวันตกพยายามจะเปลี่ยนโลกให้เป็นแบบตัวเอง หรือเป็นสากลนั้น ไหยไป

    แต่มีการให้คุณค่ากับความเป็นปัจเจกมากขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมแบบไหน ก็จะมีทั้งที่มีรสนิยม หรือ ไร้รสนิยมได้ทั้งนั้น เช่น เพลงลูกทุ่งเอง ก็จะมีทั้งเพลงที่ดี และไม่ดี ทั้งนี้ก็ตัดสินตามหลักของสุนทรียทางดนตรีลูกทุ่ง
    ซึ่งเสียงร้อง อะไรนั้นมันก็สามารถตัดสินได้ง่ายๆ จากการฟังปกติอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้น การประกวดร้องเพลงหรือดนตรี เขาจะตัดสินได้อย่างไร

    แต่ว่าเรื่องของความมีรสนิยมนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นปรัชญา ดังนั้นก่อนจะตัดสินต้องครุ่นคิดให้มาก เช่น เพลงหรือนิยายแบบตลาด ที่ลอกพลอตหรือจังหวะหลักๆ กันมา แล้วขายอะไรบางอย่างเช่นความน่ารัก ความตลกโปกฮา ความเซ็กซี่ ความเป็นมหาชน(เขาใช้กันเราใช้ตาม , เห็นเขาบอกว่าดีนะ คนอื่นก็อ่านกัน) อย่างนี้จะถือว่าเป็นสิ่งที่มีรสนิยมดีได้หรือไม่

    ดังนั้น การตัดสินรสนิยมไม่ได้มาจากการตัดสินด้วยคนส่วนมากเสมอไป

    การแต่งกายก็เช่นกัน ว่าการแต่งตัวที่ดูดีกับดูแย่ มันเป็นอย่างไร แม้จะขึ้นกับความพอใจเป็นหลัก แต่หากว่าแต่งออกมาแล้วดูไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมและกาละเทศะหรือเหมาะกับตัวเอง เช่นคนอ้วนใส่กางเกงรัดรูป(leging)สีแดง หรือคนผิวดำใส่ชุดสีเหลืองสดแล้วดูไม่เข้ากันแบบนี้ จะเรียกว่ามีรสนิยมได้หรือเปล่า ???

    แต่ว่าคำว่าเสี่ยว กับลาวนั้น ผมไม่เห็นด้วยครับที่จะนำมาใช้แทนรสนิยมที่แย่หรือไม่ดี เพราะความหมายมันไม่ได้ตรงกันเลย แถมังเป็นข้อผิดพลาดทางภาษา และแสดงถึงการดูถูกและตัดสินอย่างมีอคติอีกด้วยนะครับ

    ซึ่งปกติการตัดสินเชิงคุณค่านั้นจะทำด้ก็ต่อเมื่อเราสามารถออกจากความเคยชินของตนเอง และปราศจากอคติเท่านั้น


ใส่ความเห็น